
นักลงทุนมือใหม่หลายคน เมื่อเริ่มต้นลงทุนมักจะมีหลักเกณฑ์ต่างๆ
เป็นของตนเอง บางคนถนัดใช้ปัจจัยพื้นฐานในการคัดเลือกหุ้น
ขณะที่บางคนถนัดใช้ปัจจัยเทคนิคเป็นเครื่องมือหลักในการจับ
จังหวะทำกำไร
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น “ความถนัด” ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวสำหรับนักลงทุนแต่ละท่าน แต่สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนทุกคนควรรู้และปฏิบัติตามอย่างมีวินัย นั่นคือ
เรื่องของการหยุดการขาดทุน ไม่ว่าจะด้วยวิธี “Stop Loss” หรือ
“Cut Loss” นั่นเอง
Warren Buffett
นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่
มีกฏเกณฑ์ในการลงทุนที่เคร่งครัด
และเขามักจะบอกกฏเหล่านี้ของเขาให้แก่นักลงทุนฟังอยู่เสมอ นั่นคือ
กฎข้อที่ 1 ห้ามขาดทุน (Never lose money) และ
กฎข้อที่ 2 อย่าลืมกฎข้อที่ 1 (Never forget rule no. 1)
การจะทำให้เงินลงทุนกลับมาเป็นเท่าเดิมนั้นยากยิ่งกว่า
ดังตารางข้างล่างที่จะแสดงให้เห็นถึงผลของการขาดทุนเงินลงทุนตั้งต้น



ดูแค่นี้ก็อาจไม่ใช่เรื่องที่ยากอะไร แต่ถ้าหากท่านไม่สามารถหยุด % การขาดทุนได้ จนทำให้ขาดทุนหนักถึง 90% นักลงทุนจะต้องหาสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนได้มากถึง 900% เพื่อให้เงินลงทุนกลับมาเท่าเดิม ซึ่งสินทรัพย์ที่ ให้ผลตอบแทนได้มากเท่านั้น หากจะหาให้ได้ก็คงต้องอาศัยเวลาและโชคชะตาที่จะช่วยได้
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ยิ่งกว่าการลงทุนให้ได้กำไรก็คือ.....
การพยายามรักษาเงินต้นเอาไว้ และหยุดการขาดทุนให้ได้เร็วที่สุด
ซึ่งปกติแล้วการ Cut Loss และ Stop Loss มักจะใช้เพื่อจุดประสงค์ 2 อย่าง คือ
1 ใช้เพื่อหยุดการขาดทุนและปกป้องเงินลงทุน
2 ใช้เพื่อปกป้องกำไร
การหยุดขาดทุนด้วยวิธีการ Cut Loss และ Stop Loss นั้น แตกต่างกันอย่างไร?

การ Cut Loss หมายถึง การขาย หลักทรัพย์ออกไปโดยที่ "ขาดทุน" แต่เพื่อให้ขาดทุนน้อยที่สุด ก่อนที่ จะขาดทุนมากไปกว่าปัจจุบัน

ส่วน Stop Loss หมายถึง การหยุดเพื่อไม่ให้ ราคาหลักทรัพย์ในพอร์ตลดลงไปมากกว่านี้ ซึ่งขณะที่ทำการ Stop loss นั้น นักลงทุนอาจ ขาดทุนหรือได้กำไรอยู่ในขณะที่ขายก็ได้ แต่ขาย ออกไปเพื่อป้องกันไม่ให้กำไรลดลงกว่าที่เป็น หรือขาดทุนมากยิ่งขึ้น
วิธีการที่เป็นที่นิยมสำหรับการตั้งจุดหยุดขาดทุนสำหรับมือใหม่ มีดังนี้

วิธีที่
1 Percentage Stop Loss
เป็นวิธีตั้งจุดหยุดขาดทุนที่ง่ายและทำได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยนำ % Stop Loss (หรือ % ที่รับได้หากขาดทุน) มาคูณกับราคาต้นทุน ที่ซื้อหลักทรัพย์นั้น เช่น ซื้อไว้ที่ราคา 10 บาท ตั้ง % ตัดขาดทุนไว้ที่ 5% คำนวณจุดหยุดขาดทุนได้ 10 x 5% = 0.50 บาท
นั่นหมายความว่า... ยอมรับการขาดทุนได้ที่ 0.5 บาท ดังนั้น หากราคา หุ้นที่ถือลดลงจาก 10 บาท เป็น 9.50 (10 - 0.50) บาท ต้องตัดสินใจขาย
การตั้ง % หยุดขาดทุนนั้นเป็นค่าที่ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยง ที่ผู้ลงทุนยอมรับได้และความเต็มใจในการยอมขาดทุนของผู้ลงทุนเอง
วิธีที่
2 Price Pattern Stop Loss
คือ การตั้งจุด Stop Loss ตามสิ่งที่กราฟบอก เหมาะสำหรับ คนที่มีความรู้ด้าน Technical มาพอประมาณแล้ว เป็นการใช้ เส้นแนวโน้ม แนวรับ และแนวต้าน เป็นตัว กำหนดจุด Stop Loss เช่น การใช้เส้นแนวโน้มตีกรอบราคาไว้จากราคาหุ้นต่ำสุด ในแต่ละช่วงเวลา หากราคาของหลักทรัพย์หลุดแนวรับเมื่อใด ก็ขายหลักทรัพย์เพื่อStop Loss ทันที
วิธีที่
3 Volatility Stop Loss
คือ การตั้งจุด Stop Loss ด้วยการใช้ความผันผวนจากการเคลื่อนไหว ของราคาหุ้น นิยมใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Average True Range (ATR) ซึ่ง ATR จะเข้ามาช่วยคำนวนราคา Stop Loss จากราคาสูงสุดต่ำสุด ภายในช่วงเวลา (ความผันผวน) มาให้ ค่าที่คำนวณได้จะแสดงในรูปแบบ ของจุดสีแดงใต้ราคา หากวันไหนราคา ปิดตัวลงมาต่ำกว่าราคาที่ ATR คำนวณไว้ให้ ก็ขายหลักทรัพย์เพื่อ
Stop Loss
ความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับเว็บไซต์ “ห้องเรียนนักลงทุน”
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด